บทนำ
การ
เรียนการสอนในยุคปัจจุบันไม่สามารถจะจำกัดอยู่แต่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น
อีกต่อไปแล้วพฤติกรรมทางการเรียนรู้และการจัดสถานการณ์เพื่อให้เกิดกระบวน
การทางการเรียนรู้อาจจัดขึ้น ณ ที่ใดๆก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และโอกาส
ดังนั้น
สื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา
จึงเปรียบเสมือนมือไม้ของครูที่สำคัญจะขาดเสียไม่ได้ในการจัดการเรียนการสอน
สื่อการสอน
บราวน์
และคนอื่น ๆ (Brown and other. 1964 : 584) กล่าวว่า
สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน
จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ
ไม่เฉพาะที่เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต
การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์ เป็นต้น
ความหมายของการออกแบบการสอน
(Instructional Design)
การออกแบบการสอน (Instructional
Design) เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การออกแบบหรือการวางแผนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด
หลักการออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นสิ่งแนะนำ
แนวทางสำ หรับครูผู้สอนหรือผู้ออกแบบการสอน (Instructional Designer)ให้ประสบผล สำเร็จในการออกแบบ
และรู้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย และสร้างเสริมประสบการณ์
ในการออกแบบการสอน (Instructional Design) เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบการสอน (Learning
System )
ความหมาย
เป็นการนำเอาวิธีระบบ หรือการจัดระบบมาใช้ในการเรียนการสอน
ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่ป้อน (Input) กระบวนการ (Process)
และมีผลผลิต (Output) เช่น ระบบการสอน
จะมีองค์ประกอบย่อย ๆ เช่น ระบบครูผู้สอน ระบบนักเรียน ระบบสื่อการสอน
ระบบการเลือกและใช้สื่อการสอน หรือแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งหน่วยย่อยเหล่านี้
สามารถทำงานในหน้าที่ของตนอย่างมีอิสระ
แต่ถ้าหน่วยย่อยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบถึงหน่วยย่อยอื่น ๆ
ด้วยระบบการสอนที่มีการออกแบบโดยใช้วิธีระบบ (Systematic approach) มีการทดลองใช้อย่างกว้างขวาง มีการกำหนดขั้นตอนการสอน
ระบบการสอนของบราวน์และคณะเป็นระบบการสอนที่จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน
โดยการพิจารณาถึงแนวทางและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
เพื่อที่ผู้สอนจะได้สามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการ
ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยมีขั้นตอนดังนี้
"
จุดมุ่งหมาย (Goals) ในการเรียนการสอนนี้มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่จะต้องการให้บรรลุผลสำเร็จ
โดยผู้สอนต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้
1.
วัตถุประสงค์และเนื้อหา (Objectives and Content) เป็นสิ่งแรกที่ผู้สอนต้องกำหนดให้แน่นอนว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วผู้เรียนจะบรรลุถึงวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
ซึ่งจะต้องเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้
"
สภาพการณ์ (Conditions) ผู้สอนควรจัดสภาพการณ์อย่างไรและควรมีอะไรบ้าง
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนอย่างได้ผลดีเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
ในการนี้ต้องมีการเลือกประสบการณ์ที่เหมาะสมกับ ผู้เรียน
โดยเน้นถึงสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อการจัดรูปแบบหรือวิธีการเรียนที่เหมาะสม
2.
การจัดประสบการณ์การเรียน (Learning Experiences) เป็นการจัดประสบการณ์ในรูปลักษณะกิจกรรมการเรียนต่าง
ๆ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้
ในขั้นนี้ผู้สอนจึงต้องเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับผู้เรียนแต่ละคน
ประสบการณ์ที่นำไปสู่การเรียนรู้แบ่งได้เป็นหลายรูปแบบ เช่น การฝึกให้คิด
การอภิปราย การเขียน การอ่าน การฟัง ฯลฯ
3.
การจัดรูปแบบการเรียนการสอน (Teaching - Learning Modes) เป็นการจัดเพื่อให้ผู้เรียนสามารถได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุด
การจัดนี้ต้องคำนึงถึงขนาดของผู้เรียน
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและเนื้อหาบทเรียนด้วย การจัดรูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถจัดทำได้โดยการจัดห้องตามขนาดของกลุ่มผู้เรียน
โดยถ้าเป็นผู้เรียนกลุ่มใหญ่ ผู้สอนมักใช้วิธีการบรรยายในห้องเรียนใหญ่
ถ้ากลุ่มผู้เรียนมีขนาดกลางหรือกลุ่มเล็กก็ใช้การบรรยายโดยมีการซักถามโต้ตอบกัน
และควรมีการใช้สื่อการสอนร่วมด้วย แต่ถ้ามีผู้เรียนเพียงคนเดียวจะใช้การศึกษารายบุคคลในลักษณะของการใช้สื่อประสม
"
ทรัพยากรหรือแหล่งวิชาการ (Resources) ผู้สอนควรจะต้องทราบว่ามีแหล่งทรัพยากรหรือแหล่งวิชาการใดบ้างที่จำเป็นและสามารถนำมาใช้เพื่อการจัดประสบการณ์แก่ผู้เรียน
ทรัพยากรนี้หมายถึงทางด้านบุคลากร
การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เหมาะสมในการสอน ตลอดจนการจัด
สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกายภาพในการเรียนการสอนด้วย
4. บุคลากร (Personal)
ในกระบวนการของการจัดระบบการสอนนั้น บุคลากรมิได้หมายเฉพาะเพียง
ผู้สอนหรือผู้เรียนเท่านั้น แต่จะหมายรวมถึงบุคคลทุกคนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
ดังนั้น "ผู้สอน"
จึงหมายถึงครูหรือวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียน
ผู้สอนจะต้องมีบทบาทในการใช้สื่อการสอน
เป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมและจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน เป็นผู้นำการอภิปราย
แนะนำสิ่งต่าง ๆ ตลอดแก้ไขปัญหาแก่ผู้เรียน และต้องมีสัมพันธ์กับผู้สอนคนอื่น ๆ
เพื่อปรึกษาหรือวางแผนการสอนและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ส่วนบทบาทของ
"ผู้เรียน" นั้น อาจเป็นผู้ช่วยในการตั้งจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
การเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ การใช้สื่อ ตลอดจนการวัดและประเมินการเรียนการสอนด้วย
5.
วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ (Materials and Equipment) ในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการสอนนั้น
ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. ความเหมาะสมกับระดับความรู้
ความสามารถและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
2.
การใช้สื่อเพื่อสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3.
ความเหมาะสมของชนิดของสื่อกับกิจกรรมการเรียนการสอน
4.
สื่อนั้นสามารถหาได้ในแหล่งวิชาการหรือในท้องถิ่นนั้น
5.
ความสะดวกในการใช้
6.
สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกายภาพ (Physical Facilities) หมายถึงการจัดสภาพห้องเรียนตามขนาดของกลุ่มผู้เรียน
เพื่อให้การจัดสภาพการณ์ในการเรียนรู้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม
ตลอดจนการจัดวัสดุ อุปกรณ์และสื่อการสอนเพื่อความสะดวกในการใช้ด้วย
สิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่เหล่านี้ ได้แก่ ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ
ห้องสื่อการศึกษา และห้องนันทนาการ เป็นต้น
" ผลลัพธ์
(Outcomes) เป็นการพิจารณาดูว่าผลลัพธ์ที่ได้มาสำเร็จตามจุดมุ่งหมายมากน้อยเพียงใด
มีสิ่งใดบ้างที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข
ทั้งนี้หมายถึงการประเมินและการพิจารณาเพื่อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการสอนให้ดีขึ้น
7.
การประเมินและการปรับปรุง (Evaluation and Improvement) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในระบบการสอน
เพื่อเป็นการประเมินว่าหลังจากการสอนแล้วผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้อะไรบ้าง
และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
การประเมินจะทำให้ผู้สอนสามารถทราบได้ว่าระบบการสอนนั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง เช่น
แผนการสอน จุดมุ่งหมาย สื่อการสอน เนื้อหา หรือแม้แต่ความพร้อมของผู้เรียนเอง ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขข้อ
บกพร่องต่าง ๆ เหล่านั้นในการสอนครั้งต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น