ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม
หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ และการกระทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครทำมาก่อน หรืออาจจะเป็นการดัดแปลงสิ่งเดิมที่เคยมีอยู่แล้ว
ให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ชนิดใหม่ที่มีประโยชน์ ประหยัดและน่าสนใจกว่าเดิม
สำหรับนวัตกรรมนั้นจะต้องมีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation)
ปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคสมัย
มีการพัฒนาการ (Development) ทดลองในแหล่งทดลองซึ่งจะจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
(Pilot Project) และนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป
จึงจะถือว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
การจำแนก
นวัตกรรม อาจจำแนกได้ดังนี้
1. จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง ได้แก่ สื่อสำหรับครู
เช่น แผนการสอน คู่มือ
และสื่อสำหรับนักเรียนนั้น เช่น เอกสารประกอบการเรียน แบบฝึก
2. จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม ได้แก่
ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม และประเภทสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การที่เรานำเอา
ความคิด ความรู้ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆมาใช้ในการศึกษา การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
พร้อมทั้งช่วยให้เราประหยัดเวลาได้อีกด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษาที่น่าสนใจนั้น
จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะเรียนยิ่งขึ้น
เกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ความหมายของเทคโนโลยี
(Technology)
เทคโนโลยี (Technology)
หมายถึง
การนำความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งต่างๆ
ที่เป็นประโยชน์ อำนวยความสะดวก และประหยัดเวลาด้วย
เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นการใช้อุปกรณ์หรือการนำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อขยายแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
ออกไปอย่างกว้างขวางเพียงพอกับจำนวนของผู้เรียน วิเคราะห์ระบบ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหา
และยังสามารถผลิตอุปกรณ์ ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือต่างๆ
ให้การเรียนมีศักยภาพมากขึ้น
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์
ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและประมวลผลสรุปออกมาแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ระบบสารสนเทศ (Information System)
คือ กระบวนการที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและนำมาทำให้เป็นสารสนเทศ
ที่ทันต่อเหตุการณ์ต่างๆในปัจจุบัน
แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศนั้น
มาจากข้อมูลภายใน ที่เกิดภายในองค์กรนั้นๆและข้อมูลจากภายนอก มาจากหน่วยงานอื่นๆ
ประเภทของสารสนเทศ
1. สารสนเทศปฐมภูมิ (primary
source) คือ สารสนเทศที่ได้มาโดยตรง เช่น ได้มาจากวารสาร
รายงานวิจัย รายงานการประชุม
2. สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary
source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากการรวบรวม
และเรียบเรียงจากสารสนเทศปฐมภูมิ
3. สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary
source) คือ สารสนเทศที่รวบรวมเพื่อใช้ค้นหาสารสนเทศปฐมภูมิและสารสนเทศทุติยภูมิ
ไม่ใช่เนื้อหาสาระ ความรู้
สารสนเทศที่รับมานั้นต้องมีคุณค่าควรแก่การใช้
คือ ทันต่อเหตุการณ์ รวดเร็ว ถูกต้อง
ชัดเจน ครบถ้วน ไม่ขาดหายและมีความต่อเนื่องกัน
สารสนเทศที่ดี
สารสนเทศที่ดีนั้นต้องได้มาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นอย่างดี
มีระบบการควบคุมดูแล ไม่ให้สูญหายได้
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
-เนื้อหา ต้องมีความครอบคลุม
สัมพันธ์กับเรื่อง มีความถูกต้องและเชื่อถือได้
-รูปแบบ ชัดเจน
มีความยืดหยุ่น และประหยัด
-เวลา
มีความรวดเร็ว ทันเหตุการณ์และมีระยะเวลา
-กระบวนการ สามารถเข้าถึงได้
การมีส่วนร่วมและเชื่อมโยง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น