ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก
สวัสดีค่ะท่านผู้มาเยี่ยมชมเว็บบล็อกทุกท่าน บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่1/2556 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3

หน่วยที่3

หน่วยที่3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน

ความหมายของการสื่อสาร

                การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร  ความรู้ ประสบการณ์และความรู้สึกของผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสาร โดยการผ่านสื่อชนิดต่างๆตามความเหมาะสม มีการรับรู้และตอบสนองร่วมกัน ปัจจัยที่จะทำให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล มีอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะดังนี้
                1.การใช้รหัสสัญญาณโดยตรง เช่น การใช้เสียง ท่าทาง หรือการส่งสัญญาณโดยตรงระหว่างผู้ถ่ายทอดกับผู้รับสาร
                2.  การใช้เครื่องมือในการถ่ายทอด เป็นการสื่อสารโดยผ่านทางเครื่องมือ
                3.   การถ่ายทอดโดยกระบวนการทางสังคม โดยทางวัฒนธรรมต่างๆ
ความสำคัญของการสื่อสาร
                1. การสื่อสารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
                2. การสื่อการก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสังคม สืบสานวัฒนธรรมอันดีงาม
                3. การสื่อสารเป็นปัจจัยที่ช่วยในการพัฒนาสิ่งต่างๆให้เจริญก้าวหน้า
การสื่อสารกับการศึกษา
                ในการจัดการเรียนการสอนนั้น การใช้การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ครูผู้สอนนั้นเป็นผู้ส่งสารส่วนนักเรียนเป็นผู้รับสาร ในกระบวนการเรียนการสอนนั้นจะมีเครื่องมือต่างๆเป็นสื่อกลางเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
หลักในการสื่อสาร
         การสื่อสารที่จะประสบความสำเร็จและตรงตามวัตถุประสงค์นั้น มีดังนี้
                1. เข้าใจในองค์ประกอบของการสื่อสาร การคิด การรับรู้ ซึ่งมีผลต่อการสื่อสาร
                2. ผู้สื่อสารต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในการกำหนดความเข้าใจในการสื่อสาร
                3. ในการสื่อสารผู้ส่งสารต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และผู้รับสารต้องมีทักษะและวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
                4. ผู้ส่งสารและผู้รับสารควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเพื่อความรวดเร็วในการสื่อสาร
                5. คำนึงถึงการใช้ทักษะและปฏิกิริยาโต้ตอบกลับ ประเมินผลกาสื่อสาร เพื่อจะได้ทราบข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไข ให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์การสื่อสาร
1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)ผู้ส่งสารมีความต้องการในการแจ้งเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ
2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education)  เพื่อถ่ายทอด วิชาความรู้
3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain)  สร้างความพอใจและความบันเทิงแก่ผู้รับสาร ในรูแบบต่างๆ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade)เสนอแนะ ชักจูง ให้คล้อยตาม
5. เพื่อเรียนรู้ (learn)เกี่ยวข้องกับผู้รับสารโดยตรงเป็นการหาความรู้เพิ่มเติม
6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide)เรานั้นต้องมีข้อเสนอแนะในการตัดสินใจ
องค์ประกอบของการสื่อสาร
      1.ผู้ส่งสาร (sender) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานต่างๆที่เป็นผู้เริ่มต้นในการสื่อสาร ความรู้ ความคิดและวัตถุประสงค์ สื่อสารในรูปแบบต่างกัน โดยผู้ส่งสารต้องมีความชัดเจน มีความรู้ ความเข้าใจ มีบุคลิกที่น่าเชื่อถือ เข้าใจความพร้อมของผู้รับสาร และยังกลวิธีในการส่งสารในรูปแบบต่างๆ
     2.  สาร (message) หมายถึง เรื่องราวต่างๆที่อาจจะอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความรู้สึกต่างๆที่จะส่งไปยังผู้รับสาร ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
     3.  สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่นำสารไปยังผู้รับสารโดยสื่อนั้น แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ
   4.  ผู้รับสาร (receiver) หมายถึง กลุ่มบุคคล บุคคล ที่รับเรื่องราว ข่าวสารและมีการตอบกลับ
ประเภทของการสื่อสาร
                จำแนกออกเป็นหลายแบบ คือ การสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่ม ในองค์กร การสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งแบบเผชิญหน้า และไม่เผชิญหน้า
อุปสรรคในการสื่อสาร      
                อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การส่งสารนั้นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร อุปสรรคที่เกิดขึ้นนั้นโดยจากผู้ส่งสาร  สาร ผู้รับสารและช่องทางในการส่งสาร
รูปแบบของการสื่อสาร
                มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการสื่อสารข้อมูลไปยังผู้รับสารฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ตอบกลับในทันที และอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) การสื่อสารที่ส่งไปแล้วได้รับการตอบกลับมาทันที


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น